กฎหมายน่ารู้

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว 
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง 
การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต 
    ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น 
1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส 
2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส 
การสิ้นสุดการสมรส 
1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ 
2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม 
3. การหย่า 

- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร 
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน

กฎหมายเรื่องมรดก 
มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย 
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท 
1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท 
2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้ 

พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล 
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน 
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา 
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ 

2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม 

3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ 
- เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน 
- เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม. 
- เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน 

4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน 
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่   7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี และนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (7 เมษายน) นั้น ล่าสุด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ตามที่วุฒิสภาแก้ไขด้วยคะแนนเสียง 304 ต่อ 2
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น 
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน 
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป 

5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร 
- ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน 
- เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด 
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้ 

6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม 
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น 
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 
- พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522

https://www.moj.go.th/thainiyom/detail?id=1

ความคิดเห็น